วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทุนกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำในสหรัฐฯ เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้าเป็นเครือข่าย และใช้ทรัพยากรเพื่อทำงานวิจัย เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกัน ซึ่งสมัยแรกใช้ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต และจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อินเทอร์เน็ตในภายหลัง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน โดยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลมีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ต่อมามีการเชื่อมเครือข่ายออกสู่องค์กรเอกชน และแพร่ขยายไปทั่วโลก เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หมายความว่าในองค์กรได้สร้างเครือข่ายภายในตนเองขึ้นมา และนำมาเชื่อมต่อสู่เครือข่าย สากลอินเทอร์เน็ตนี้ โดยมีการกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ด้วยรหัสหมายเลขที่เรียกว่า แอดเดรส ซึ่งอินเทอร์เน็ต กำหนดรหัสแอดเดรสเรียกว่า ไอพีแอดเดรส และถือเป็นรหัสสากลที่ไม่ซ้ำกันเลย ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยเน้นเป็นรหัสของเครือข่ายและรหัสของอุปกรณ์ เช่น รหัสแทนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 ส่วนรหัสของเครื่องจะมีอีกสองพิกัดตามมา เช่น 2.71 เมื่อเขียนรวมกันจะได้ 158.108.2.71 เพื่อให้จดจำได้ง่ายจึงมีการตั้งชื่อคู่กับหมายเลข เราเรียกชื่อนี้ว่า โดเมน เช่นโดเมนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ ใช้ชื่อ ku.ac.th โดย th หมายถึงประเทศไทย ac หมายถึงสถาบันการศึกษา และ ku หมายถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในเครือข่ายหลายเครื่อง ก็ให้มีการตั้งชื่อเครื่องด้วย เช่น nontri เมื่อมีการเรียกรวมกันก็ จะเป็น nontri.ku.ac.th การใช้ชื่อนี้ทำให้ใช้งานง่ายกว่าตัวเลข เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ สามารถสื่อถึงได้อย่าง รวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่น ๆ อีกมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา 1. การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย 2. การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้3. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง 4. การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้ ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW) เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก 5. การอ่านจากกลุ่มข่าว ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้ และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว 6. การสนทนาบนเครือข่าย เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง ในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้ ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้ 7. การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย

ชนิดของเครือข่าย

ชนิดของเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามสภาพการเชื่อมโยงได้ 2 ชนิด - เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) - เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN
7.2.1 เครือข่ายแลน
หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่ บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลน มีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกันจนเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่เช่นมหาวิทยาลัย มีการวางเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่รับผิดชอบโดยองค์การที่เป็นเจ้าของ ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คืออุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับส่งสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่ หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนถึงร้อยล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสารสูง ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อยและสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้
7.2.2 เครือข่ายแวน


เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่าย ที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ มีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารจึงไม่สูง เนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อผิดพลาดของ การรับส่งข้อมูล เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้เช่นที่ทำการสาขาทุกแห่ง ของธนาคารแห่งหนึ่งมีเครือข่ายแลนเพื่อใช้ทำงานภายในสาขานั้นๆ และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลน ของทุกสาขาให้เป็นระบบเดียวด้วยเครือข่ายแวน ในอนาคตอันใกล้นี้ บทบาทของเครือข่ายแวนจะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์การทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และการทำงานร่วมกัน ในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล ทั้งที่วางตามถนนและวางใต้น้ำ เทคโนโลยีของการเชื่อมโยง ได้รับการพัฒนาไปมากแต่ยังไม่พอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวด

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

7 นิสัยทำสุขภาพเสีย

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ใครว่าไม่สำคัญ ยิ่งนิสัยทำลายสุขภาพด้วยแล้ว หากทำเป็นประจำ สุขภาพอาจเสื่อมโทรม หรือพาลให้เป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ ไปเช็คตัวเองกันดีกว่า
ไม่ใช้ไหมขัดฟัน การไม่ใช้ไหมขัดฟันทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับเหงือก และส่งผลให้สุขภาพฟันไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนว่าท็อกซินจากแบคทีเรียบริเวณเหงือกสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและอาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้
นอนทั้งยังใส่คอนแทคเลนส์ มีการศึกษาพบว่าการนอนทั้งที่ยังมีคอนแทคเลนส์อยู่เพิ่มการติดเชื้อที่ดวงตาถึง 10 เท่า
ไม่ได้ล้างเครื่องสำอาง การนอนทั้งที่ยังไม่ได้ล้างเครื่องสำอางนั้นเป็นการเพิ่มอัตราป่วยเป็นภูมิแพ้ได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มตัวกระตุ้นการเกิดสิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องสำอางที่มีน้ำมันเป็นพื้นฐาน
ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ การสวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำเป็นการลงน้ำหนักตัวที่ไม่สมดุล มีผลเสียต่อกระดูกและกล้ามเนื้อขาและเท้า อาจทำให้ข้อเสื่อมก่อนวัยได้
เคี้ยวหมากฝรั่งทั้งวัน หากเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีซอร์บิทอลตลอดทั้งวัน อาจทำ ให้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือเกิดอาการท้องเสียได้
ทาครีมกันแดดทุกวัน การทาครีมกันแดดต่อเนื่องเป็นตัวลดจำนวนวิตามินดีที่ ร่างกายจะสร้างขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเครียดหรือเป็นโรคกระดูกพรุนตามมา
โทรศัพท์ก่อนนอน ตามรายงานของนักวิทยาศาสตร์ประเทศสวีเดน รังสีที่แผ่ออก จากเครื่องโทรศัพท์มือถือ ทำให้นอนไม่หลับหรือไม่สามารถหลับลึกได้ และทำให้รู้สึกปวดหัวได้